เมนู

มนุษย์ เราย่อมเสวยผลนั้น ๆ ทั้งหมด นี้เป็นผลแห่ง
(การถวาย) เสาต้นเดียว.

ในกัปที่ 94 แต่กัปนี้ ในกาลนั้นเราได้ให้เสาใด ด้วยบุญ
กรรมนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่ง ( การถวาย) เสา
ต้นเดียว.

คุณวิเศษเหล่านี้ คือปฏิสัมภิทา4 วิโมกข์ 8 และ
อภิญญา 6 เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้วฉะนี้แล.

ทราบว่า ท่านพระเอกถัมภิกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ด้วยประการ
ฉะนี้แล.
จบเอกถัมภิกเถราปทาน

12. อรรถกถสเอกถัมเถราปทาน


อปทานแห่ง ท่านพระเอกถัมภิกทายกเถระ มีคำเริ่มต้นว่า
สิทฺธตฺถสฺส ภควโต ดังนี้.
แม้พระเถระรูปนี้ ก็ได้บำเพ็ญบารมีมาแล้วในพระพุทธเจ้าพระ-
องค์ก่อน ๆ ทุก ๆ พระองค์ สั่งสมบุญอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพาน
ไว้เป็นอันมากในภพนั้น ๆ ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า
สิทธัตถะ บังเกิดเป็นคนดูแลป่าไม้ ในตระกูลแห่งหนึ่ง ที่เพียบพร้อม
ด้วยทรัพย์สมบัติ. ในสมัยนั้นอุบาสกและอุบาสิกาล้วนมีศรัทธา มีความ
เลื่อมใส มีความพร้อมเพรียงกัน ตั้งใจว่า พวกเราจะสร้างศาลาสำหรับ

บำรุงพระผู้มีพระภาคเจ้า จึงเข้าไปสู่ป่าเพื่อต้องการทัพพสัมภาระ ได้
พบเห็นอุบาสกนั้นเข้า จึงอ้อนวอนว่า ท่านจงให้การงานสักอย่างหนึ่ง
แก่พวกเราเถิด. อุบาสกคนนั้น พอทราบความเป็นไปนั้นแล้ว จึงพูดว่า
พวกท่านอยู่คิดไปเลยดังนี้ แล้วได้ส่งเขาเหล่านั้นไป ได้ให้พวกเขา
เหล่านั้นหามเสาไม้แก่นต้นหนึ่งไปแสดงแด่พระศาสดา. ด้วยการให้เสา
ไม้แก่นนั้นนั่นแล เขาเกิดโสมนัสในใจ ทำบุญคือการให้ไม้แก่นนั้นเป็น
ครั้งแรกแล้ว ก็ทำบุญมีการให้ทานเป็นต้นอย่างอื่นอีกเป็นอันมาก จุติ
จากอัตภาพนั้น ไปบังเกิดบนเทวโลก ได้เสวยทิพยสมบัติในกามาวจร
สวรรค์ 6 ชั้นกลับไปกลับมา ได้เสวยจักรพรรดิสมบัติในมนุษย์โลกอีก
หลายครั้ง และได้เสวยสมบัติคือเป็นพระราชาปกครองประเทศนับไม่ถ้วน
ในพุทธุปบาทกาลนี้ ได้บังเกิดในตระกูลแห่งหนึ่งที่สมบูรณ์ด้วยศรัทธา
พร้อมกับมารดาบิดาได้ฟังธรรมในสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้า ได้มี
ศรัทธาบรรพชาอุปสมบท เล่าเรียนกัมมัฏฐานอย่างตั้งใจ มิช้ามินาน
ก็ได้เป็นพระอรหันต์.
ท่านพอได้บรรลุพระอรหัตแล้วอย่างนั้น จึงได้ระลึกถึงบุพกรรม
ของตน เกิดโสมนัส เมื่อจะประกาศอ้างถึงความประพฤติที่มีมาในกาล
ก่อน จงกล่าวคำเริ่มค้นว่า สิทฺธตฺถกสฺสส ดังนี้. พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงพระนามว่าสิทธัตถะในคาถานั้น คือพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้สมบูรณ์
ด้วยภคธรรม. บทว่า มหาปูคคโณ ความว่า ได้มีหมู่แห่งอุบาสกเป็น
จำนวนมาก. บทว่า สรณํ คตา จ เต พุทฺธํ ความว่า อุบาสก
เหล่านั้นเข้าถึง คบ หรือทราบว่า พระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่ง ดังนี้. บทว่า
ตถคตํ สทฺธหํ ความว่า ตั้งพระพุทธคุณไว้ในจิตสันดานของตน.

บทว่า สพฺเพ สงฺคมฺม มนฺเตตฺวา ความว่า ทั้งหมดพบประชุม
ปรึกษากัน ให้สัญญากันและกัน มีฉันทะเป็นอันเดียวกัน สร้างโรง
คือศาลาสำหรับบำรุง เพื่อประโยชน์แก่พระศาสดา. เชื่อมความว่า เมื่อยัง
ไม่ได้เสาสักต้นหนึ่ง ในบรรดาทัพพสัมภาระทั้งหลาย จึงพากันเที่ยว
ค้นหาในป่าใหญ่.
บทว่า เตหํ อรญฺเญ ทิสฺวาน เชื่อมความว่า เราได้เห็นพวก
อุบาสกเหล่านั้นในป่า เข้าไปเป็นหมู่ ประคองอัญชลี กระทำอัญชลี
ประชุมนิ้วทั้ง 10 ไว้เหนือเศียร ในกาลนั้นเราจึงถามหมู่อุบาสกว่า พวก
ท่านมายังป่านี้เพื่อต้องการอะไร.
เชื่อมความว่า อุบาสกเหล่านั้นเป็นผู้มีศีล ถูกเราถามแล้ว จึงบอก
เป็นพิเศษว่า เราเป็นผู้มีความประสงค์จะสร้างโรงบำรุง แต่พวกเรายัง
ไม่ได้เสาอีกต้นหนึ่ง.
เชื่อมความว่า พวกท่านจงให้เสาต้นหนึ่งแก่เราเถิด เราเองจักนำ
เสาต้นนั้นไปถวายยังสำนักพระศาสดา, ขอท่านผู้เจริญ อย่าได้พยายาม
ในการนำเอาเสาไปเลย.
บทว่า ยํ ยํ โยนุปปชฺชามิ ความว่า เราจะเข้าถึงกำเนิดใด ๆ
คือจะเป็นเทวดาหรือมนุษย์ก็ตาม. อีกอย่างหนึ่ง คำนั้นเป็นทุติยาวิภัตติ
ใช้ลงในอรรถแห่งสัตตมีวิภัตติ, อธิบายว่า ในโลกใด คือจะเป็น
เทวโลก หรือมนุษยโลกก็ตาม. คำที่เหลือง่ายทั้งนั้นแล.
จบอรรถกถาเอกถัมภิกเถราปทาน

นันทเถราปทานที่ 3 (13)


ว่าด้วยผลแห่งการถวายผ้า


[15] เราได้ถวายผ้าทอด้วยเปลือกไม้ แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า
พระนามว่า ปทุมุตตระ เชษฐบุรุษของโลกผู้มั่นคง ตรัสรู้เอง
แสวงหาคุณอันใหญ่หลวง.

พระพุทธเจ้าผู้เป็นนายกพระนามว่า ปทุมุตตระ ทรงพยา-
กรณ์เรานั้นว่า ด้วยการถวายผ้านี้ ท่านจักเป็นผู้มีผิวพรรณดัง
ทองคำ.

ได้เสวยสมบัติทั้งสองแล้ว อันกุศลมูลตักเตือน จักได้.
เป็นพระอนุชาของพระผู้มีพระภาคเจ้า พระนามว่าโคดม.

ท่าอันราคะย้อมแล้ว มีปกติสุข ประกอบด้วยความ
กำหนัดในกาม เป็นผู้อันพระพุทธเจ้าตักเตือนแล้ว แต่นั้น
จักบวช.

ครั้นบวชในพระศาสนาของพระโคดมนั้นแล้ว อันกุศลมูล
ตักเตือนแล้ว จักกำหนดรู้อาสวะทั้งปวง ไม่มีอาสวะ นิพพาน.

ในแสนกัปจักเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ 4 ครั้ง มีพระนามว่า
เจละ ใน 6 ล้านกัปจักเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ 4 ครั้ง มีพระนาม
ว่า อุปเจละ.

ใน 5,000 กัป จักเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ 4 ครั้งพระนาม
ว่า เจละเหมือนกัน สมบูรณ์ด้วยแก้ว 7 ประการ เป็นใหญ่
ในทวีปทั้ง 4.

คุณวิเศษเหล่านี้ คือปฏิสัมภิทา 4 วิโมกข์ 8 และ